หน้าเว็บ

วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

การสวนปัสสาวะ (Urinary catheterization)

หมายถึง การสอดใส่สายสวนปัสสาวะที่เรียกว่า catheter ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ ด้วยวิธีการที่ปราศจากเชื้อ เพื่อระบายปัสสาวะออกสู่ภายนอก ทำให้กระเพาะปัสสาวะว่าง   
ชนิดและวัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะ
การสวนปัสสาวะมี  2  วิธีคือ
1.การสวนปัสสาวะปล่อยหรือสวนเป็นครั้งคราว (intermittent catheterization )
2.การสวนปัสสาวะคาสายหรือสวนค้าง (indwelling catheterization or retained catheterization )

1.การสวนปัสสาวะทิ้งหรือสวนเป็นครั้งคราว (intermittent catheterization ) ใช้สายสวนปัสสาวะชนิดตรงที่ทำด้วยยางแดง (หรืออาจมีสีอื่นๆ ซึ่งผู้เขียนไม่เคยเห็น) ปลายข้างที่ใส่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ  มีลักษณะเป็นปลายมน มีตาเดียว ภายในเป็นท่อกลวงท่อเดียว ใช้สวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว
วัตถุประสงค์ของการสวนเป็นครั้งคราวหรือการสวนทิ้ง
1.ผู้ป่วยไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้เอง
2.เก็บปัสสาวะส่งตรวจเพื่อตรวจเพื่อเพาะหาเชื้อ ( urine culture)
3. ตรวจวัด ปริมาณของปัสสาวะที่เหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ( residual urine)
2.การสวนปัสสาวะคาสายปัสสาวะ (indwelling catheterization or retained catheterization )
ใช้สายสวนปัสสาวะชนิดโฟเล่ย์ (Foley’s catheter) ชนิด 2 ทาง หรือ 3 ทาง ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการสวนคา

สายสวนปัสสาวะโฟเล่ย์ มีทั้งชนิด 2 ทาง  3 ทาง  
  • ทางที่1 เป็นทางสำหรับระบายน้ำปัสสาวะ
  • ท างที่ 2 เป็นทางสำหรับใส่น้ำกลั่นที่ปลอดเชื้อเข้าไปในโป่งบอลลูน  ให้สายสวนสามารถค้างในกระเพาะปัสสาวะได้ 
  • ท างที่ 3 เป็นทางสำหรับใส่น้ำยาเข้าไปล้างในกระเพาะปัสสาวะตลอดเวลา (Continuous  Irrigation)

วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะคาสายหรือสวนค้าง1. เพื่อป้องกันการระคายเคือง การอักเสบและติดเชื้อของผิวหนัง ในผู้ป่วยที่เป็นแผลอักเสบของผิวหนังบริเวณฝีเย็บ และขาหนีบ
2.เพื่อเป็นช่องทางระบายปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้เอง
3.เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างก่อนส่งตรวจพิเศษ หรือในระหว่างการผ่าตัด
4.เพื่อการติดตามวัดปริมาณน้ำปัสสาวะในผู้ป่วยหนัก เช่น ผู้ป่วยอยู่ในภาวะช็อค ผู้ป่วยเสียเลือด
5.เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะในรายที่มีเลือดออก มีลิ่มเลือด มีหนองหรือตะกอนขุ่นมากในระบบทางเดินปัสสาวะ
6.เพื่อตรึงท่อปัสสาวะ (Splint)  เช่น ในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บของท่อปัสสาวะ
7.เพื่อเป็นช่องทางในการใส่ยาเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ

การเลือกสายสวนปัสสาวะ

มีความสำคัญมากต้องให้มีขนาดท่อพอดีกับท่อปัสสาวะ  อย่าให้คับหรือหลวมเกินไป  การสวนปัสสาวะถ้าใช้สายขนาดเล็ก จะช่วยลดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินปัสสาวะได้ดีกว่าการใช้สายขนาดใหญ่  แต่ปัสสาวะจะไหลช้า และน้ำปัสสาวะมีโอกาสไหลซึมออกด้านข้างได้
ขนาดสายสวนปัสสาวะที่เหมาะสมกับขนาดของท่อปัสสาวะ ในกรณีที่ต้องสวนปัสสาวะคาไว้ ดังนี้
 - ผู้ป่วยเด็ก   ขนาด 8-10 Fr.
 - ผู้ป่วยหญิง ขนาด  12-14 Fr.     ซึ่งนิยมใช้ขนาด  14  Fr.
 - ผู้ป่วยชาย ขนาด  14-16 Fr.
**กรณีที่ผู้ป่วยมีปัสสาวะขุ่น มีตะกอน หนองหรือเลือดออกแต่ไม่มีลิ่มหรือก้อนเลือด ควรใช้สายสวนปัสสาวะขนาด 18-20 Fr.   

***ผู้ป่วยหลังผ่าตัดต่อมลูกหมาก ควรใช้สายสวนปัสสาวะขนาด 20-24 Fr. และต่อสายสวนปัสสาวะแบบ 3ทางเพื่อสวนล้างจนใส

การดูแลผู้ป่วยขณะคาสายสวนปัสสาวะ

การคาสายสวนปัสสาวะไว้เป็นเวลานานจะมีโอกาสเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ ดังนั้นพยาบาลจึงมีบทบาทที่สำคัญในการป้องกันภาวะแทรกช้อนที่อาจเกิดขึ้น โดยมีแนวทางการดูแลผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะดังต่อไปนี้

1. ดูแลให้ปัสสาวะไหลสะดวก (Free draiage)โดย

  • ในผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องจำกัดน้ำดื่ม กระตุ้นให้ดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร เพื่อเป็นการชะล้างภายในทางเดินปัสสาวะ (intenal irrigation) ด้วยการเพิ่มจำนวนปัสสาวะที่ออกมา ทำให้น้ำปัสสาวะเจือจาง ไม่ตกตะกอน
  • ดูแลไม่ให้สายสวนปัสสาวะหัก พับงอหรือดึงรั้งท่อปัสสาวะ โดยยึดตรึงไว้ด้วยพลาสเตอร์ที่บริเวณต้นขาด้านใน สำหรับผู้ป่วยหญิง และบริเวณท้องน้อย สำหรับผู้ป่วยชาย
  • ถุงเก็บปัสสาวะ ควรอยู่ในระดับต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะเสมอ เพื่อให้มีการไหลของปัสสาวะสะดวก
  • ดูแลบีบรีดสายยาง (milking) บ่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตะกอนหรือลิ่มเลือดอุดกั้นอยู่ภายในสายยาง การบีบรีดสายยางโดยใช้มือข้างหนึ่ง จับสายยางให้อยู่กับที่ ขณะที่มืออีกข้างบีบรีดสายยางออกจากตัวผู้ป่วย
2. การป้องกันการติดเชึ้อ
  1. ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาล และใส่ถุงมือเมื่อมีโอกาสสัมผัสปัสสาวะของผู้ป่วย
  2. ดูแลให้อยู่ในระบบปิด (closed drainage system) ตลอดเวลา หากจำเป็นต้องเก็บปัสสาวะส่งตรวจ หรือเทน้ำปัสสาวะออกจากถุงก่อนและหลังทำ จะต้องเช็ดบริเวณข้อต่อ ด้วยแอลกอฮอล์ 70 %
  3. การเทน้ำปัสสาวะออกจากถุง ท่อทางออกจะต้องไม่สัมผัสกับภาชนะรองรับ และภายหลังเทให้ปิดท่อทางออกทุกครั้ง
  4. ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก โดยเฉพาะบริเวณรูเปิดท่อปัสสาวะและสายสวนปัสสาวะอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เวลาเช้า เย็น และทุกครั้งภายหลังถ่ายอุจจาระ
  5. ถุงเก็บปัสสาวะแขวนไว้กับขอบเตียงไม่แขวนไว้ที่เหล็กกั้นข้างเตียง หรือวางไว้กับพื้นกรณีที่จำเป็นต้องยกสูง ให้ใช้ตัวหนีบหนีบสายหรือหักพับสายก่อนยกถุง เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของน้ำปัสสาวะ  ผู้ป่วยที่ลุกเดินได้แนะนำให้พับหรือปิดสายสวนปัสสาวะไว้ก่อน  โดยให้ถุงปัสสาวะอยู่ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะหรือต่ำกว่าเอวตลอดเวลา
  6. หากถุงเก็บปัสสาวะหรือสายสวนปัสสาวะรั่ว ให้สวนปัสสาวะ และเปลี่ยนถุงเก็บปัสสาวะใหม่ทั้งชุด
  7. การเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องคาสายสวนปัสสาวะไว้เป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนสายสวนใหม่เมื่อคาสายสวนครบ 2 สัปดาห์ ถ้าไม่พบหินปูนที่ปลายสายสวนครั้งต่อไปให้ลองเปลี่ยนเมื่อครบ 4 , 6 และ 8 สัปดาห์ ตามลำดับ
  8. สังเกตและซักถามอาการและอาการแสดงออกของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้แก่ มีไข้ หนาวสั่นปัสสาวะขุ่น มีตะกอน กลิ่นฉุน เป็นต้น
3. การบันทึกจำนวนน้ำได้รับและออกจากร่างกาย (water intake and water output) จำนวนน้ำที่ได้รับและออกจาก ร่างกายในรอบ 24 ชั่วโมง


การพยาบาลผู้ป่วยภายหลังถอดสายสวนปัสสาวะออก 
      ภายหลังถอดสายสวนปัสสาวะออกแล้วกระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ สังเกตและบันทึกปัสสาวะได้เองของผู้ป่วย ปกติควรถ่ายได้เองภายใน 4 – 6 ชั่วโมง (ไม่ควร 8 ชั่วโมง ) ขึ้นอยู่กับความจุของกระเพาะและจำนวนน้ำที่ได้รับ บางครั้งแพทย์จะสั่งสวนปัสสาวะ หาปริมาณของ residual urine ภายหลังผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะได้เอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น